วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2558

จิตรกรรมสมัยสุโขทัย

     สำหรับจิตรกรรมสมัยสุโขทัยแม้มีตัวอย่างเหลือให้เห็นน้อยมาก แต่ภาพสลักบนเพดานหินในอุโมงค์มณฑปวัดศรีชุมนอกเมืองสุโขทัยเก่าถือว่าพออนุโลมเป็นจิตรกรรมได้ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องชาดกต่างๆประมาณ ๖๐ ภาพ ก็เป็นพยานถึงศิลปะในการทำภาพสลักลายเส้นในสมัยนี้ได้เป็นอย่างดี และแสดงให้เห็นว่าคงได้รับอิทธิพลจากศิลปะลังกาสมัยโปลนนารุวะอีกเช่นเดียวกัน

     งานจิตรกรรมสมัยสุโขทัยนั้นปรากฏว่ามีการทำภาพแกะลายเบา โดยแกะสลักบนหินเป็นลายเส้น ตัวอย่างเช่น ภาพแกะสลักลายเส้นบนเพดานผนังอุโมงค์วัดศรีชุม สลักเรื่องโคชานิยชาดก สำริดจากวัดเสด็จ ตลอดจนจิตรกรรมฝาผนังพบที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว ภายในคูหาชั้นในของมณฑปที่มีเรือนยอดเป็นปรางค์ผสมเจดีย์ทรงระฆังมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง แต่ปัจจุบันลบเลือนเกือบหมดแล้ว แต่นับเป็นคุณูปการแก่คนไทยอย่างยิ่งที่ท่านศาสตราจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ ซึ่งเป็นผู้ที่รัก เข้าใจ และเห็นคุณค่าของจิตรกรรมไทย ได้ทำการคัดลอกภาพจิตรกรรมฝาผนังจากวัดเจดีย์เจ็ดแถวไว้เป็นหลักฐานให้อนุชนรุ่นหลังได้ทำการศึกษาต่อมา






ในสมัยสุโขทัยมีการทำเครื่องถ้วยชามด้วยดินเผาเคลือบที่เรียกว่าเครื่องสังคโลก ซึ่งคงได้รับแบบอย่างมาจากช่างจีนและช่างขอม




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น